ฟิลเลอร์ (Filler) คืออะไร ช่วยอะไรบ้าง เรื่องควรรู้ก่อนฉีดฟิลเลอร์
ฟิลเลอร์เป็นหัตถการที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะสามารถแก้ปัญหาได้หลายอย่าง นำมาเติมเต็มได้หลายจุดทั่วใบหน้า ใครที่กำลังกังวลกับการฉีดฟิลเลอร์ครั้งแรกในบทความนี้หมอได้รวบรวมสิ่งที่ควรรู้ก่อนฉีดฟิลเลอร์มาให้แล้วค่ะ
ฟิลเลอร์คืออะไร มีกี่แบบ
ฟิลเลอร์เป็นหัตถการที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะสามารถแก้ปัญหาได้หลายอย่าง นำมาเติมเต็มได้หลายจุดทั่วใบหน้า ใครที่กำลังกังวลกับการฉีดฟิลเลอร์ครั้งแรกในบทความนี้หมอได้รวบรวมสิ่งที่ควรรู้ก่อนฉีดฟิลเลอร์มาให้แล้วค่ะ
ฟิลเลอร์มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ
-
ฟิลเลอร์แบบถาวร (Permanent filler)
เป็นสารเติมเต็มประเภทซิลิโคน หรือพาราฟิน ไม่สามารถสลายเองได้ อาจมีผลข้างเคียงได้ในระยะยาวจึงไม่นิยมใช้ในการฉีดบริเวณใบหน้า
-
ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวร (Semi-Permanent filler)
สามารถสลายได้ แต่ไม่สามารถสลายได้ทั้งหมด อาจเกิดผลข้างเคียงได้ ซึ่งฟิลเลอร์กึ่งถาวรเป็นสาร เช่น Calcium Hydroxyapatite, สาร PLLA (Poly-L-lactic acid), Polyalkylimide
-
ฟิลเลอร์แบบชั่วคราว (Temporary filler)
เป็นสารเติมเต็ม Hyaluronic acid (HA) สามารถสลายได้เองตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยสูง ได้รับรองมาตรฐานจากอย.ไทย สลายได้เอง ไม่ตกค้างในร่างกาย หรือสามารถฉีดยาสลายได้หากไม่ต้องการ
ฟิลเลอร์ฉีดบริเวณไหนได้บ้าง ใช้กี่ CC
- ฟิลเลอร์หน้าผาก ช่วยแก้ปัญหาหน้าผากยุบ หน้าผากแบน ไม่มีมิติ ให้นูนสวยได้สัดส่วนกับใบหน้าส่วนอื่น และยังช่วยให้ใบหน้าสวยตามหลักโหงวเฮ้ง เหมาะกับคนไข้ที่ไม่อยากผ่าตัดหน้าผาก ฟิลเลอร์หน้าผากจะใช้ประมาณ 1 – 2 cc สำหรับร่องหน้าผาก และ 3 – 10 cc สำหรับปรับให้นูน เสริมโหงวเฮ้ง
- ฟิลเลอร์ใต้ตา ช่วยแก้ปัญหาไขมันใต้ตาทรุดตัว ใต้ตาหย่อนคล้อยขาดคอลลาเจน มีปัญหาถุงใต้ตา ตาลึกโบ๋ มีริ้วรอยใต้ตา และยังช่วยลดใต้ตาคล้ำได้ โดยฟิลเลอร์ใต้ตาจะใช้ประมาณ 1 – 3 cc ขึ้นอยู่กับปัญหาใต้ตา
- ฟิลเลอร์คาง ช่วยปรับรูปทรงคางแก้ปัญหารูปคางสั้น คางเบี้ยวไม่สมมาตร คางไม่เท่ากัน แก้ไขคางตัด คางบุ๋ม คางไม่เท่ากัน ปรับรูปหน้าให้เรียว โดยฟิลเลอร์คางจะใช้ประมาณ 1 – 3 cc
- ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ช่วยเติมเต็มให้ร่องแก้มตื้นขึ้นสำหรับคนที่มีปัญหาจากหน้าแก้มพับจนเป็นร่องแก้ม หรือกระดูกบริเวณร่องแก้มทรุดตัวลง โดยฟิลเลอร์ร่องแก้มจะใช้ประมาณ 1 cc
- ฟิลเลอร์แก้มตอบ ช่วยลดความเด่นของโหนกแก้ม ปรับให้ใบหน้าดูมีมิติขึ้น และยังช่วยยกกระชับใบหน้าส่วนล่าง ทำให้กระเปาะแก้มดูกระชับขึ้น แก้มดูเต็มอิ่มไม่โทรม โดยฟิลเลอร์แก้มตอบจะใช้ประมาณ 1 – 4 cc ขึ้นไป
- ฟิลเลอร์แก้มส้ม หรือฟิลเลอร์ยกกระชับหน้าแก้ม จะช่วยทำให้ช่วงหน้าแก้มมีมิติได้สัดส่วนที่สวยงามแล้ว ยกกระชับใบหน้าขึ้นได้ ทำให้บริเวณร่องใต้ตา ถุงใต้ตา และ ร่องแก้มตื้นขึ้น โดยฟิลเลอร์แก้มส้มจะใช้ประมาณ 1 cc ต่อข้าง
- ฟิลเลอร์ขมับช่วยเติมเต็มขมับตอบให้ดูเต็มขึ้น ลดความเด่นชัดของโหนกแก้มได้ และยังช่วยยกหางตา หางคิ้ว ทำให้หน้าดูละมุนมากขึ้น โดยฟิลเลอร์ขมับจะใช้ประมาณ 1 – 4 cc
- ฟิลเลอร์จมูก ช่วยปรับสันจมูกให้เรียบเนียน เป็นทรงสวย ปรับจมูกให้ดูโด่งขึ้น และยกปลายจมูกให้เชิด แต่ทั้งนี้จะไม่สามารถปรับให้โด่งมากได้ หรือทำให้สันจมูกดูคมชัดได้มากเท่ากับการทำศัลยกรรมจมูก โดยฟิลเลอร์จมูกจะใช้ประมาณ 1 cc
- ฟิลเลอร์ปากช่วยแก้ปัญหาปากบาง ปากไม่ได้รูป ปากไม่เท่ากัน ปรับรูปให้เป็นปากกระจับ หรือปากสายฝอตามที่ต้องการได้ และยังเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับริมฝีปากที่แห้งแตก ลดร่องปาก โดยฟิลเลอร์ปากจะใช้ประมาณ 1 – 2 cc
- ฟิลเลอร์ร่องน้ำหมาก ช่วยลดริ้วรอยร่องลึกช่วงบริเวณมุมปาก และสามารถยกมุมปากตกได้ แต่ควรเติมหลังจากที่ยกกระชับช่วงแก้มบริเวณอื่นขึ้นไปดีแล้ว เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ดูเป็นธรรมชาติ โดยฟิลเลอร์ร่องน้ำหมากจะใช้ประมาณ 1 – 2 cc
- ฟิลเลอร์กรอบหน้า ช่วยแก้ปัญหากรอบหน้าไม่ชัด ช่วงแก้มล่างหย่อนคล้อย ปรับแนวกระดูกสันกรามให้คมชัดขึ้น ยกกระชับผิวช่วงแก้มล่างที่หย่อนคล้อย และช่วยปรับรูปหน้าให้สมมาตร โดยฟิลเลอร์กรอบหน้าจะใช้ประมาณ 1 – 4 cc
ฉีดฟิลเลอร์อันตรายไหม อาการแพ้ฟิลเลอร์เป็นอย่างไร ?
หลายคนอาจกังวลว่าฉีดฟิลเลอร์อันตรายไหม แต่การฉีดฟิลเลอร์จะไม่เป็นอันตรายหากใช้ฟิลเลอร์แท้ที่ได้มาตรฐาน อย.ไทย ซึ่งจะมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง ไม่ก่อให้เกิดอันตราย หรือแพ้ตัวฟิลเลอร์ แต่ในบางเคสที่ฉีดแล้วเกิดอาการบวมแดง มีผื่นแดง คันบริเวณที่ฉีด เป็นอาการแพ้ฟิลเลอร์ มักจะเกิดกับคนที่ฉีดฟิลเลอร์ปลอม ที่ไม่สามารถสลายได้เอง
นอกจากนี้หากฉีดฟิลเลอร์กับแพทย์ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญอาจเกิดอันตรายได้ และยังมีความเสี่ยงสูงที่ฟิลเลอร์จะไหล เพราะแพทย์อาจคำนวณปริมาณฟิลเลอร์ไม่เหมาะสม ใช้ปริมาณมากกว่าปัญหาที่มีอยู่ ฉีดผิดตำแหน่ง ทำให้ฟิลเลอร์เป็นก้อน เคลื่อนตัวจากตำแหน่งที่ฉีด หรือฟิลเลอร์อาจเข้าเส้นเลือดจนเนื้อตายได้
ทำให้ต้องมีการฉีดสลายฟิลเลอร์ออก หรือหากฉีดฟิลเลอร์มาแล้วรู้สึกไม่สวย ไม่ชอบ ก็สามารถทำการฉีดสลายฟิลเลอร์โดยใช้เอมไซน์ Hyaluronidase ได้ แต่ถ้าเป็นซิลิโคนหรือสารเหลว จะไม่สามารถสลายไปได้เอง และในบางเคสก็จะไม่เห็นผลเลย ต้องขูดออกเท่านั้น
อีกหนึ่งปัญหาที่พบได้หากฉีดกับแพทย์ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ หรือบุคคลที่ไม่ใช่แพทย์ ฟิลเลอร์อาจเข้าเส้นเลือดได้ เนื่องจากผู้ฉีดไม่รู้จักกายวิภาคของใบหน้าดีพอ เมื่อฟิลเลอร์เข้าเส้นเลือดอาจทำให้เกิดเนื้อตายในบริเวณนั้นได้ อ่านเพิ่มเติม: ฉีดฟิลเลอร์ดีไหม มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง
ข้อปฏิบัติก่อน – หลังฉีดฟิลเลอร์
วิธีเตรียมตัวก่อนฉีดฟิลเลอร์
- งดยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ยาละลายลิ่มเลือด และวิตามิน ประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนการฉีดฟิลเลอร์ เนื่องจากเป็นกลุ่มยาที่อาจส่งผลให้บวมง่าย ช้ำง่าย
- งดดื่มแอลกอฮอล์ก่อนฉีดฟิลเลอร์ 24 ชั่วโมง
- หากมีโรคประจำตัวควรแจ้งแพทย์ก่อนทำหัตถการ
- งดทายาผลัดเซลล์ผิวบริเวณที่ต้องการฉีดฟิลเลอร์
- งดการทำเลเซอร์ก่อนฉีดฟิลเลอร์
- หากมีผิวหนังอักเสบ หรือติดเชื้อ ในบริเวณที่ต้องการฉีดฟิลเลอร์แนะนำปรึกษาแพทย์ก่อน
วิธีดูแลหลังฉีดฟิลเลอร์
- ดื่มน้ำเยอะๆ
- ประคบเย็น หรือดื่มน้ำใบบัวบกลดอาการบวม
- ไม่ควรกด นวดในบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์
- เลี่ยงการโดนความร้อน
- งดแอลกอฮอล์ ของหมักดองประมาณ 1 สัปดาห์
อ่านเพิ่มเติมที่บทความ : วิธีดูแลหลังฉีดฟิลเลอร์
ฉีดฟิลเลอร์เจ็บไหม บวมกี่วัน ?
ก่อนฉีดฟิลเลอร์จะมีการใช้ยาชาทั้งแบบทาและแบบฉีด และฟิลเลอร์บางชนิดมียาชาในตัวด้วย จึงจะช่วยให้ไม่รู้สึกเจ็บในขณะที่เติมฟิลเลอร์ โดยการแปะยาชาแบบทาจะใช้เวลาประมาณ 30 นาทีเพื่อให้ชา ส่วนยาชาแบบฉีดจะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 นาทีถึงจะยาชา
ซึ่งหลังจากฉีดฟิลเลอร์จะเห็นผลลัพธ์ทันทีหลังทำ แต่อาจมีอาการบวมจากยาชา และอาการบวมจากฟิลเลอร์ได้ ซึ่งจะค่อยๆ บวมได้เองใช้เวลาประมาณ 7 – 14 วัน โดยจะเห็นผลลัพธ์เต็มที่ประมาณ 2 – 4 สัปดาห์หลังจากฉีดค่ะ
โดยการฉีดฟิลเลอร์จะนิยมใช้เป็นเข็มปลายทู่ เพราะลดการทำให้เกิดรอยเขียวช้ำ และโดนเส้นเลือดได้เมื่อเทียบกับเข็มปลายแหลม ส่วนเข็มปลายแหลมจะสามารถวางฟิลเลอร์บนชั้นเยื่อหุ้มกระดูกได้แม่นยำ และฉีดปรับรูปทรงปากได้คมชัดกว่าการใช้เข็มปลายทู่
แต่ก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ฉีดและความถนัดของแพทย์แต่ละท่านด้วย เพราะไม่ว่าจะใช้เป็นเข็มปลายแหลมหรือเข็มปลายทู่ก็ยังจำเป็นต้องใช้ทักษะและความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการฉีดฟิลเลอร์
ฟิลเลอร์มีกี่ยี่ห้อ แตกต่างกันอย่างไร ?
ฟิลเลอร์มีหลากหลายรุ่น ปัจจุบันมีฟิลเลอร์ยี่ห้อหลากหลายที่ผ่านอย.ไทยด้วยกัน และที่ทางคลินิกเราใช้เป็นหลักมี 3 ยี่ห้อ ได้แก่ Juvederm Restylane และ e.p.t.q
- ฟิลเลอร์ Juvederm จากประเทศอเมริกา ผ่านการรับรองจาก อย.อเมริกาและที่ผ่าน อย.ไทยตอนนี้มีอยู่ด้วยกัน 7 รุ่น ฟิลเลอร์ Juvederm มี 2 เทคโนโลยีการผลิต ได้แก่ Hylacross และ Vycross Technology โดยมีหลากหลายรุ่นเพื่อการแก้ปัญหาอย่างครอบคลุม
- ฟิลเลอร์ Restylane จากประเทศสวีเดน ฟิลเลอร์แบรนด์แรกของโลกที่มีการพัฒนาและผลิตมาอย่างยาวนาน ปัจจุบันฟิลเลอร์ Restylane ที่ผ่านมาตรฐาน อย.ไทย มีอยู่ 8 รุ่น แบ่งออกเป็น 2 เทคโนโลยี คือ NASHA technology และ OBT technology
- ฟิลเลอร์ e.p.t.q จากประเทศเกาหลี ใช้เทคโนโลยี 2CM Technology และ ZEEP Technologyในการผลิต ปัจจุบันมีอยู่ 3 รุ่น คือ S100, S300, S500
เติมไขมันกับฟิลเลอร์อันไหนดีกว่ากัน
เติมฟิลเลอร์กับฉีดไขมันอันไหนดีกว่ากัน เป็นคำถามยอดฮิตที่หลายๆ คนถามกันเข้ามา โดยทั้ง 2 วิธีนี้เป็นการช่วยเติมเต็มเหมือนกัน แต่ผลลัพธ์และการทำงานค่อนข้างต่างกัน ดังนี้
การเติมไขมัน |
การเติมฟิลเลอร์ |
เป็นการเก็บเซลล์ไขมันตัวเองจากตำแหน่งหนึ่งของร่างกายมาใช้เติมเต็มบริเวณที่ต้องการ | เป็นการใช้สาร Hyaluronic acid ที่ผลิตขึ้นมาเลียนแบบสารที่มีตามธรรมชาติในร่างกาย |
หลังเติมไขมันไปจะยังไม่เห็นผลลัพธ์ที่สมบูรณ์ทันที เซลล์ไขมันจะปลูกถ่ายอยู่บนใบหน้าได้ประมาณ 30% เมื่อครบ 1 เดือน | เห็นผลลัพธ์ได้ทันทีหลังทำ |
การสลายของเซลล์ไขมันขึ้นกับการเผาผลาญในร่างกายแต่ละบุคคล | สามารถสลายได้เองตามธรรมชาติอยู่ได้นานประมาณ 6 เดือน – 2 ปี |
ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อปรับรูปหน้าได้ในทุกตำแหน่ง เน้นการเติมเต็มเป็นหลัก | มีหลายโมเลกุล สามารถแก้ปัญหาบนใบหน้าได้หลายแบบ |
หากใครที่ต้องการปรับยกกระชับรูปหน้า แลดูเป็นธรรมชาติให้เห็นผลทันทีและอยู่ได้นาน แนะนำเป็นการเติมฟิลเลอร์จะตอบโจทย์มากกว่าค่ะ
สรุป
การฉีดฟิลเลอร์เป็นหัตถการที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะช่วยปรับรูปหน้า แก้ไขปัญหาต่างๆ บนใบหน้าได้โดยเห็นผลลัพธ์ทันทีหลังทำ แต่ต้องเลือกฟิลเลอร์ที่เหมาะสมกับบริเวณที่ต้องการแก้ไข และเลือกคลินิกที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนฉีดฟิลเลอร์เพื่อความปลอดภัยค่ะ
อ่านวิธีเลือกสถานที่ฉีดฟิลเลอร์เพิ่มเติมที่: ฉีดฟิลเลอร์ที่ไหนดี
Comments on “ฟิลเลอร์ (Filler) คืออะไร ช่วยอะไรบ้าง เรื่องควรรู้ก่อนฉีดฟิลเลอร์”